แผ่นดินไหวเขย่าไต้หวัน ขนาด 6.4 แมกนิจูด โศกนาฏกรรมรับตรุษจีน (6 ก.พ.2559) อาคารถล่มหลายหลัง

intensity EE0206035764006

เมื่อช่วงเช้าในราว 03.00 น. วันที่ 6 ก.พ. ตามเวลาในไทย เกิดเหตุแผ่นดินไหววัดระดับความรุนแรงได้ 6.4 แมกนิจูด ที่เมืองไถหนาน ประเทศไต้หวัน ห่างจากกรุงไทเปไปทางตอนใต้ราว 300 กิโลเมตร  แรงสั่นสะเทือนทำให้อาคารที่พักหลายหลังพังถล่มลงมา โดยหนึ่งในนั้นเป็นอาคารที่พักสูง 17 ชั้น ซึ่งมีครอบครัวอาศัยอยู่ราว 200 คน หรือ 60 ครอบครัว เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สามารถช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ในซากอาคารที่ได้รับความเสียหายได้แล้ว 120 ราย มีการนำตัวผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล 26 ราย และพบผู้เสียชีวิตแล้ว 3 ราย

ทำไมไต้หวัน ถึงเกิดแผ่นไหวบ่อยๆ

ประเทศไต้หวันตั้งอยู่ในเขตแผ่นดินไหวหรือโซนที่เรียกว่า “วงแหวนแห่งไฟแปซิฟิก” (Pacific Ring of Fire) และอยู่ในขอบด้านตะวันตกของแผ่นมหามุทร Philippine Sea Plate  นักธรณีวิทยาพบว่ามีรอยเลื่อนมีพลัง หรือ Active Fault อยู่ถึง 42 รอยเลื่อน ส่วนใหญ่ของการเกิดแผ่นดินไหวในไต้หวันจะเกิดจากการชนกันของ Philippine Sea plateและ Eurasian Plate ทางทิศตะวันออกของเกาะไต้หวัน แผ่นดินไหวหากเกิดนอกชายฝั่งตะวันออก จะก่อให้เกิดความเสียหายเล็ก ๆ น้อย ๆ หากแผ่นดินไหวแม้มีขนาดเล็กหากเกิดอยู่ใต้เกาะไต้หวันเองจะมีอำนาจทำลายมากขึ้น มีการบันทึกการเกิดแผ่นดิไหวครั้งแรก เมื่อปี 1624 ซึ่วงเป็นปีที่ก่อตั้งเกาะดัตช์ Formosa และระหว่างปี 1901 และปี 2000 มีแผ่นดินไหวใหญ่ในไต้หวัน 91 ครั้ง และมี 48 ครั้งที่มีผลเสียหายร้ายแรงและมีผู้สูยเสียชีวิตจำนวนมาก และมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า แผ่นดินไหว 921 (921 Earthquake) เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน 1999 มีผู้เสียชีวิตมากถึง 2,415 ชีวิต

Pacific_Ring_of_Fire.svg

อาคารที่ทันสมัยในไต้หวันปัจจุบันสร้างขึ้นมามีความปลอดภัยจากแผ่นดินไหว รวมทั้งอาคารไทเป 101 สามารถต้านทานแผ่นดินไหว และยังแข็งแรงพอที่จะต้านทานแรงเฉือนจากลม รวมทั้งระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะมีอุปกรณ์ความปลอดภัยอัตโนมัติ รถไฟจะต้องหยุดชะงักเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ไต้หวันจะมีหน่วนงานที่เรียกว่า Central Weather Bureau โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ที่รับผิดชอบในการตรวจสอบและการรายงานเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว  การศึกษาด้าน seismology ของเกาะไต้หวันเริ่มต้นขึ้นในยุคญี่ปุ่นเพื่องฟู และเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่ติดตั้งเป็นครั้งแรกในกรุงไทเปโดยบริษัท Fusakichi Omori ของญี่ปุ่น

800px-Taiwan_seismicity

เหตุการณ์การเกิดแผ่นดินไหวในไต้หวันแผ่นดินไหวที่สำคัญและเกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก แสดงดังตารางข้างล่าง

Date
(UTC+8)

Time
(UTC+8)
Area affected Latitude
(°N)
Longitude
(°E)
Depth
(km)
Magnitude
(ML
Dead Houses
destroyed

Main article

January 30, 1736 Tainan 23.1 120.5 ~6.5 372 698
August 9, 1792 Chiayi, Changhua, Yunlin 23.6 120.5 ~7.1 617 24,621
March 17, 1811 From Chiayi northwards 23.8 121.8 ~7.5 21 41
October 13–14, 1815 From Chiayi northwards 24.0 121.7 ~7.7 113 243
March 4, 1845 Chiayi, Changhua, Taichung 24.1 120.7 ~6.0 381 4220
December 3, 1848 Tainan, Changhua, Chiayi 24.1 120.5 ~7.1 1,030 13,993
June 7, 1862 Tainan, Chiayi, Changhua 23.2 120.2 ~7.0 over 500 over 500
November 6, 1865 Taipei, Keelung 24.9 121.6 ~6.0 “many”
December 18, 1867 Taipei, Keelung, Hsinchu 25.3 121.7 ~7.0 hundreds
February 18, 1881 Taipei, Hsinchu, Miaoli 24.6 120.7 ~6.2 11 210
December 9, 1882 Island-wide 23.0 121.4 ~7.5 10 40
March 15, 1897 Yilan, Taipei 56 50
April 24, 1904 14:39 Chiayi 23.5 120.3 6.1 3 66
November 6, 1904 04:25 Chiayi 23.6 120.3 7 6.1 145 661 1904 Douliu earthquake
March 17, 1906 06:43 Chiayi 23.6 120.5 6 7.1 1,258 6,769 1906 Meishan earthquake
April 14, 1906 03:18 Tainan 23.4 120.4 20 6.6 15 1,794
January 11, 1908 11:35 Hualien 23.7 121.4 10 7.3 2 3
April 15, 1909 03:54 Taipei 23.7 121.5 80 7.3 9 122
April 12, 1910 08:22 Keelung 25.1 122.9 200 8.3 13
August 28, 1916 15:27 Central Taiwan 24.0 121.0 45 6.8 16 614 1916-17 Nantou earthquakes
November 15, 1916 06:31 Central Taiwan 24.1 120.9 3 6.2 1 97
January 5, 1917 00:55 Central Taiwan 24.0 121.0 shallow 6.2 54 130
January 7, 1917 02:08 Central Taiwan 23.9 120.9 shallow 5.5 187
June 5, 1920 12:21 Hualien 24.6 121.9 20 8.3 5 273
September 2, 1922 03:16 Hualien 24.5 122 20 7.6 5 14
October 15, 1922 07:47 Hualien 24.6 122.3 20 5.9 6
December 2, 1922 11:46 Hualien 24.6 122.0 6.0 1 1
August 25, 1927 02:09 Tainan 23.3 120.3 20 6.5 11 214
December 8, 1930 16:01 Tainan 23.3 120.4 20 6.1 4 49
April 21, 1935 06:02 Hsinchu, Taichung 24.4 120.8 5 7.1 3,276 17,907 1935 Hsinchu-Taichung earthquake
July 17, 1935 00:19 Hsinchu, Taichung 24.6 120.7 30 6.2 44 1,734
December 17, 1941 03:19 Chiayi 23.4 120.5 12 7.1 360 4,520 1941 Zhongpu earthquake
October 23, 1943 00:01 Hualien 23.8 121.5 5 6.2 1 1
December 2, 1943 13:09 Taitung 22.5 121.5 40 6.1 3 139
December 5, 1946 06:47 Tainan 23.1 120.3 5 6.1 74 1,954 1946 Xinhua earthquake
October 22, 1951 05:34 Hualien 23.9 121.7 4 7.3 68 1951 East Rift Valley earthquakes
November 25, 1951 02:50 Hualien 23.3 121.3 7.3 17
February 24, 1957 04:26 Hualien 23.8 121.8 30 7.3 11 44
October 20, 1957 02:28 Hualien 23.7 121.5 10 6.6 4
April 27, 1959 04:41 Northeast Taiwan 24.1 123.0 150 7.7 1 9
August 15, 1959 16:57 Pingtung 21.7 121.3 20 7.1 16 1,214 1959 Hengchun earthquake
February 13, 1963 16:50 Yilan 24.4 122.1 47 7.3 3 6 1963 Su-ao earthquake
March 4, 1963 21:38 Yilan 24.6 121.1 5 6.4 1
January 18, 1964 20:04 Chiayi, Tainan 23.2 120.6 18 6.3 106 10,924 1964 Baihe earthquake
March 13, 1966 00:31 Hualien 24.2 122.7 42 7.8 4 24
October 25, 1967 08:59 Yilan 24.4 122.1 20 6.1 2 21
January 25, 1972 10:07 Taitung 22.5 122.3 33 7.3 1 5
April 24, 1972 17:57 Hualien 23.5 121.4 15 6.9 5 50 1972 Ruisui earthquake
December 13, 1978 19:23 Hualien 23.3 121.6 4 6.8 2
January 23, 1982 22:11 Yilan, Hualien 24.0 121.6 3 6.5 1
May 20, 1986 13:25 Hualien 24.1 121.6 16 6.2 1
November 15, 1986 05:20 Hualien 24.0 121.8 15 6.8 15 37
December 13, 1990 11:01 Hualien 23.9 121.5 3 6.5 2 3
June 5, 1994 09:09 Yilan, Hualien 24.4 121.8 5.3 6.2 1 1
September 16, 1994 14:20 Taiwan Strait 22.5 118.7 13 6.8 0 0 1994 Taiwan Strait earthquake
February 23, 1995 23:13 Hualien 24.2 121.7 21.7 5.8 2
June 25, 1995 14:59 Yilan, Hualien 24.6 121.7 40 6.5 1 6
July 17, 1998 12:51 Nantou 23.5 120.7 3 6.2 5
September 21, 1999 01:47 Island-wide 23.9 120.8 8 7.7 2,415 51,711 921 earthquake
May 17, 2000 11:25 Nantou 24.2 121.1 3 5.3 3
June 11, 2000 02:23 Nantou 23.9 121.1 10.2 6.7 2
March 31, 2002 14:52 Hualien, Nantou 24.2 122.1 9.6 6.8 5 6
May 15, 2002 11:46 Yilan, Hualien 24.6 121.9 5 6.2 1
May 1, 2004 12:38 Hualien 24.1 121.95 17.8 5.8 2
December 26, 2006 20:26 Pingtung 21.69 120.56 44.1 7.0 2 3 2006 Hengchun earthquakes
20:26 21.97 120.42 50.2 7.0
December 19, 2009 21:02 Hualien 23.78 121.75 45.9 6.8 0 2009 Hualien earthquake
March 4, 2010 08:18 Kaohsiung 23.0 120.73 5 6.4 0 2010 Kaohsiung earthquake
February 26, 2012 10:35 Pingtung 22.75 120.75 26.3 6.4 0
March 7, 2013 11:36 Hualien 24.31 121.49 15.2 5.6 0
March 27, 2013 10:03 Island-wide 23.9 121.05 19.4 6.2 1 March 2013 Nantou earthquake
June 2, 2013 13:43 Island-wide 23.86 120.97 14.5 6.5 5 June 2013 Nantou earthquake
June 8, 2013 00:38 N/A 23.88 122.7 59.0 5.9 0
June 29, 2013 07:51 Hualien 24.00 122.3 8 5.6 0 June 2013 Hualien earthquake
Oct 31, 2013 20:02 Hualien 23.62 121.43 19.5 6.3 0 October 2013 Hualien earthquake
April 20, 2015 09:42 Hualien 24.05 122.37 17.5 6.3 1 April 2015 Hualien earthquake
February 6, 2016 03:56 Kaohsiung 23.01 120.5 22 6.4 2 2016 Kaohsiung earthquake

วีดีโอยูทูป Strong Earthquake Rattles Southern Taiwan, Casualties Feared as Building Collapse

วีดีโอยูทูป Taiwan Earthquake: 6.4 quake topples buildings in city of Tainan – BBC News

วีดีโอยูทูป 06 Feb 2016 | Extended Taiwan Earthquake Damage Drone Footage, Search and Rescue Underway

————————————————————————
data source:
http://www.youtube.com
http://www.wikipedia.org

อุปกรณ์ในระบบเซลล์แสงอาทิตย์

ในระบบ Solarcell นั้นจะต้องมีอุปกรณ์ต่างๆร่วมด้วย เนื่องจากโซล่าเซลล์ ผลิตไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรง จึงต้องมีอุปกรณ์ในการเก็บพลังงานไฟฟ้า คือ แบตเตอรี่ เครื่องควบคุมการประจุไฟฟ้า ( Solarcharger ) และเครื่องแปลงไฟฟ้ากระแสตรง เป็นไฟฟ้ากระแสสลับหรือที่เรียกว่าอินเวอร์เตอร์ ( Inverter ) ประกอบเข้าด้วยกันจึงจะทำให้ระบบ Solarcell สามารถทำงานได้

2015-12-28_23-25-11

1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรงและมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) มีการนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกัน เป็นแถวหรือเป็นชุด (Solar Array) เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าใช้งานตามที่ต้องการ โดยการต่อกันแบบอนุกรม จะเพิ่มแรงดันไฟฟ้า และการต่อกันแบบขนาน จะเพิ่มพลังงานไฟฟ้า หากสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แตกต่างกัน ก็จะมีผลให้ปริมาณของค่าเฉลี่ยพลังงานสูงสุดในหนึ่งวันไม่เท่ากันด้วย รวมถึงอุณหภูมิก็มีผลต่อการ ผลิตพลังงานไฟฟ้า หากอุณหภูมิสูงขึ้น การผลิตพลังงานไฟฟ้าจะลดลง

solararray

2. เครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller) ทำหน้าที่ประจุกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผง เซลล์แสงอาทิตย์เข้าสู่แบตเตอรี่ และควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าให้มีปริมาณเหมาะสมกับแบตเตอรี่ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ รวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ด้วย ดังนั้น การทำงานของเครื่องควบคุมการประจุ คือ เมื่อประจุกระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่จนเต็มแล้ว จะหยุดหรือ ลดการประจุกระแสไฟฟ้า (และมักจะมีคุณสมบัติในการตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า กรณีแรงดันของแบตเตอรี่ลดลงด้วย) ระบบพลังงานแสงอาทิตย์จะใช้เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าในกรณีที่มีการเก็บพลังงานไฟฟ้า ไว้ในแบตเตอรี่เท่านั้น

solarchargecontroller

mpptSolarchargecontroller

3. แบตเตอรี่ (Battery) ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไว้ใช้เวลาที่ต้องการ เช่น เวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เวลากลางคืน หรือนำไปประยุกต์ใช้งานอื่นๆ แบตเตอรี่มีหลายชนิดและหลายขนาดให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม

solarbattery BattBackupFull

4. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) ที่ผลิตได้จาก แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ Sine Wave Inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับทุกชนิด และ Modified Sine Wave Inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ไม่มีส่วนประกอบของมอเตอร์และหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่เป็น Electronic ballast

inverter    350w-grid-tie-power-inverter-for-solar-panels   Grid-Tie

 


วีดีโอยูทูป เส้นทางการคิดค้นเซลล์แสงอาทิตย์ : หลักการของเซลล์แสงอาทิตย์
มารู้จักเซลสุริยะ

——————————————————
data sources :
http://www.techtron.co.th/
http://www.leonics.co.th/

เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์

ประวัติความเป็นมาของเซลล์แสงอาทิตย์

เซลล์แสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) โดย แชปปิน (Chapin) ฟูลเลอร์ (Fuller) และเพียสัน (Pearson) แห่งเบลล์เทลเลโฟน (Bell Telephon) โดยทั้ง 3 ท่านนี้ได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อ พี-เอ็น (P-N) แบบใหม่ โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิกอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์อันแรกของโลก ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 6% ซึ่งปัจจุบันนี้เซลล์แสงอาทิตย์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 15% แล้ว ในระยะแรกเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศ ดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรในอวกาศ ก็ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังไฟฟ้า ต่อมาจึงได้มีการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้บนพื้นโลกเช่นในปัจจุบันนี้ เซลล์แสงอาทิตย์ในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่จะมีสีเทาดำ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้เซลล์แสงอาทิตย์มีสีต่างๆ กันไป เช่น แดง น้ำเงิน เขียว ทอง เป็นต้น เพื่อความสวยงาม

solarCell

เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทางอิเลคทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีัอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น เมื่อพิจารณาลักษณะการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์พบว่า เซลล์แสงอาทิตย์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งสอดคล้องและเหมาะสมในการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ผลิตไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน

ประเภทของเซลล์แสงอาทิตย์

เซลล์แสงอาทิตย์ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่มที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน จะแบ่งตามลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น คือ แบบที่เป็น รูปผลึก (Crystal) และแบบที่ไม่เป็นรูปผลึก (Amorphous) แบบที่เป็นรูปผลึก จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอน (Single Crystalline Silicon Solar Cell) และ ชนิดผลึกรวมซิลิคอน (Poly Crystalline Silicon Solar Cell) แบบที่ไม่เป็นรูปผลึก คือ ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon Solar Cell)
  2. กลุ่มที่ทำจากสารประกอบที่ไม่ใช่ซิลิคอน ซึ่งประเภทนี้ จะเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 25% ขึ้นไป แต่มีราคาสูงมาก ไม่นิยมนำมาใช้บนพื้นโลก จึงใช้งานสำหรับดาวเทียมและระบบรวมแสงเป็นส่วนใหญ่ แต่การพัฒนาขบวนการผลิตสมัยใหม่จะทำให้มีราคาถูกลง และนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต (ปัจจุบันนำมาใช้เพียง 7 % ของปริมาณที่มีใช้ทั้งหมด)

เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน

cell-single     cell-single-2

แบบผลึกเดี่ยว (Single Crystal)แบบผลึกรวม (Poly Crystal)

cell-poly    cell-poly-2

แบบอะมอร์ฟัส (Amorphous )

cell-amorphous   cell-amorphous-2

เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์

 

ส่วนประกอบของเซลล์แสงอาทิตย์

แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากเซลล์แสงอาทิตย์เพียงเซลล์เดียว จะมีค่าต่ำมาก การนำมาใช้งานจะต้องนำเซลล์หลาย ๆ เซลล์ มาต่อกันแบบอนุกรมเพื่อเพิ่มค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้สูงขึ้น เซลล์ที่นำมาต่อกันในจำนวนและขนาดที่เหมาะสมเรียกว่า แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module หรือ Solar Panel)

pvcompo

การทำเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นแผง เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน ด้านหน้าของแผงเซลล์ ประกอบด้วย แผ่นกระจกที่ มีส่วนผสมของเหล็กต่ำ ซึ่งมีคุณสมบัติในการยอมให้แสงผ่านได้ดี และยังเป็นเกราะป้องกันแผ่นเซลล์อีกด้วย แผงเซลล์จะต้องมีการ ป้องกันความชื้นที่ดีมาก เพราะจะต้องอยู่กลางแดดกลางฝนเป็นเวลายาวนาน ในการประกอบจะต้องใช้วัสดุที่มีความคงทนและป้อง กันความชื้นที่ดี เช่น ซิลิโคนและ อีวีเอ (Ethelele Vinyl Acetate) เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันแผ่นกระจกด้านบนของแผงเซลล์ จึง ต้องมีการทำกรอบด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง แต่บางครั้งก็ไม่มีความจำเป็น ถ้ามีการเสริมความแข็งแรงของแผ่นกระจกให้เพียงพอ ซึ่งก็สามารถทดแทนการทำกรอบได้เช่นกัน ดังนั้นแผงเซลล์จึงมีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ (laminate) ซึ่งสะดวกในการติดตั้ง

 

วีดีโอยูทูป เรื่อง การทำ Solar Cell ผลึก ซิลิคอน Si

วีดีโอยูทูป เรื่อง How to make a Solar Cell

วีดีโอยูทูป เรื่อง Faces of Chemistry: Organic solar cells (BASF) – Video 1

วีดีโอยูทูป เรื่อง Faces of Chemistry: Organic solar cells (BASF) – Video 2

วีดีโอยูทูป เรื่อง Faces of Chemistry: Organic solar cells (BASF) – Video 3

วีดีโอยูทูป เรื่อง How Does a Solar Cell Work?

วีดีโอยูทูป เรื่อง How to make a Solar Panel – Wiring, Soldering, and Cell Layout – Explained Simply!

วีดีโอยูทูป เรื่อง solar cell manufacturing and solar panel production by suntech

วีดีโอยูทูป เรื่อง SOLAR CELL 30MINS

——————————————————————————–

data sources :

http://www.egat.co.th

 

 

 

 

พลังงานแสงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ เป็นกลุ่มก๊าซร้อนรูปทรงกลมที่มีความหนาแน่นสูง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 x 109 เมตร และมีระยะห่างเฉลี่ยจากโลกประมาณ 1.5 x 1011เมตร เมื่อสังเกตจากโลก ดวงอาทิตย์จะใช้เวลาในการหมุนรอบแกนตัวเองประมาณ 4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามดวงอาทิตย์ไม่ได้หมุนอย่างของแข็ง การหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ที่บริเวณศูนย์สูตรจะใช้เวลาประมาณ 27 วัน และสำหรับบริเวณขั้วโลกประมาณ 30 วัน
ดวงอาทิตย์เปรียบเสมือนวัตถุดำที่มีอุณหภูมิประสิทธิผล 5,777 K อุณหภูมิที่จุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์มีค่าประมาณ 8 ล้าน ถึง 40 ล้าน K และมีความหนาแน่นประมาณ 100 เท่าของความหนาแน่นของน้ำ

20141216-5-hotnews

ดวงอาทิตย์ เปรียบได้กับเตาปฏิกรณ์ที่เกิดปฏิกิริยาฟิวชันของก๊าซที่เป็นส่วนประกอบอย่างต่อเนื่อง พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาการแตกตัวหลายชนิด ปฏิกิริยาที่สำคัญที่สุดปฏิกิริยาหนึ่ง คือ การรวมตัวกันของไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม มวลของนิวเคลียสของฮีเลียมมีค่าน้อยกว่ามวลของไฮโดรเจน มวลส่วนที่หายไปคือมวลที่เปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงาน พลังงานนี้จะเกิดขึ้นที่ภายในดวงอาทิตย์ที่อุณหภูมิหลายล้านเคลวิน พลังงานนี้จะถ่ายเทมาที่ผิวของดวงอาทิตย์และแผ่ออกจากผิวสู่อวกาศ

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ อันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์ จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเลคทรอนิคส์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจาก สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ปัจจุบันในประเทศไทย มีหลายหน่วยงาน ได้ทำการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อใช้งานในลักษณะต่างๆ กัน

ใน 1 ชั่วโมง โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ประมาณ 174 [petawatts], 30% ของพลังงานนี้ถูกสะท้อนกลับไปในอวกาศ ที่เหลิอถูกดูดซับโดยเมฆ มหาสมุทรและพื้นดิน คิดเป็น 3,850,000 [exajoules] ต่อปี ประมาณว่า พลังงานนี้ใน 1 ชั่วโมงมีปริมาณเกือบเท่ากับพลังงานที่โลกใช้ทั้งปี (510 EJ ในปี 2009)[1]

พลังงานนี้เป็นต้นกำเนิดของวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตในโลก ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและธาตุต่าง ๆ เช่น คาร์บอน พลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทน หรือ พลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพสูง ปราศจากมลพิษ อีกทั้งเกิดใหม่ได้ไม่สิ้นสุด และยังเป็นต้นกำเนิดของพลังงานน้ำ (จากการทำให้น้ำกลายเป็นไอและลอยตัวขึ้นสูง พลังงานน้ำที่ตกกลับลงมาถูกนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า) เป็นต้นกำเนิดของพลังงานเคมีในอาหาร (พืชสังเคราะห์แสง เปลี่ยนแร่ธาตุให้เป็นแป้งและน้ำตาล ซึ่งสามารถให้พลังงานแก่มนุษย์และสัตว์ชนิดต่าง ๆ) เป็นต้นกำเนิดของพลังงานลม (ทำให้เกิดความกดอากาศและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ) และเป็นต้นกำเนิด พลังงานคลื่น (ทำให้น้ำขึ้น-ลง)

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานของแสงและพลังงานของความร้อนที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์

ดังนั้นเราจึงแบ่ง พลังงานแสงอาทิตย์ ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ

  1. พลังงานที่เกิดจากแสง และ
  2. พลังงานที่เกิดจากความร้อน

1. พลังงานที่เกิดจากแสง รูปแบบการนำพลังงานของแสงอาทิตย์มาใช้งาน แบ่งอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับวิธีการในการจับพลังงานแสง การแปรรูปให้เป็นพลังงานอีกรูปหนึ่ง และการแจกจ่ายพลังงานที่ได้ใหม่นั้น

รูปแบบแรกเรียกว่า แอคทีพโซลาร์ เป็นการใช้วิธืการของ โฟโตโวลตาอิคส์ หรือ solar thermal เพื่อจับและเปลี่ยนพลังงานของแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อนโดยตรง

ตัวอย่างรูปแบบ แอคทีพโซลาร์ ได้แก่

  • การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยวิธี โฟโตโวลตาอิคส์ หรือ solar photovoltaics เช่นเซลล์แสงอาทิตย์
  • การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนของแสงอาทิตย์ หรือ solar thermal electricity
  • การผลิตความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ solar heating

อีกรูปแบบหนึ่งก็คือ พาสซีฟโซลาร์ เป็นวิธีการใช้ประโยชน์ทางอ้อม ได้แก่ การออกแบบอาคารในประเทศหนาวให้รับแสงแดดได้เต็มที่ หรือ การติดตั้งวัสดุที่ไวต่ออุณหภูมิ thermal mass เพื่อปรับสมดุลของอากาศในอาคาร หรือติดตั้งวัสดุที่มีคุณสมบัติกระจายแสง หรือการออกแบบพื้นที่ว่างให้ อากาศหมุนเวียนโดยธรรมชาติ

ตัวอย่างรูปแบบของ พาสซีฟโซลาร์ ได้แก่

  • หลักการของโซลาร์ชิมนีย์ เมื่ออากาศร้อนลอยขึ้นเกิดการถ่ายเทอากาศภายในอาคาร
    solar architecture ได้แก่ สถาปัตยกรรมในการใชั เซลล์แสงอาทิตย์ ร่วมกับอาคาร เพื่อการประหยัดพลังงาน เช่นติดตั้งเซนเซอร์เพื่อเปิดปิดม่านบังแสงหรือพัดลมระบายอากาศ หรือเปิดปิดไฟในเวลากลางคืนเป็นต้น หรือการออกแบบอาคารเพื่อให้มีภูมิทัศน์เกื้อกูลกันตามภาพประกอบ หรือการใช้สีทาอาคารที่จะสะท้อนแสง(สีขาว)หรือดูดซับแสง(สีดำ) เพื่อให้มีอุณหภูมิเหมาะสมกับการอยู่อาศัย โซลาร์ชิมนีย์ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการนำธรรมชาติของอากาศมาช่วยปรับอุณหภูมิในอาคาร โดยการสร้างปล่องไฟในแนวตั้งเพื่อรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นทำให้อากาศในปล่องไฟสูงขึ้น อากาศร้อนลอยขึ้นข้างบนทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ ชาวจีนและกรีกโบราณได้ใช้วิชาการ(ของจีนเรียกฮวงจุ้ย)เพื่อออกแบบที่อยู่อาศัยมาแต่ในอดีต
  • สังเคราะห์แสงประดิษฐ์ artificial photosynthesis เป็นขบวนการทางเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบธรรมชาติในการสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแสงอาทิตย์ น้ำและคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ให้เป็นคาร์โบไฮเดรดและอ็อกซิเจน รวมทั้งการแยกไฮโดรเจนและอ๊อกซิเจนออกจากน้ำ เป็นต้น

2. พลังงานที่เกิดจากความร้อนของแสงอาทิตย์ เช่น

  • พลังงานลม (ทำให้เกิดความกดอากาศและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ)
  • พลังงานน้ำ (จากการทำให้น้ำกลายเป็นไอและลอยตัวขึ้นสูง พลังงานน้ำที่ตกกลับลงมาถูกนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า)
  • พลังงานคลื่น (ทำให้น้ำขึ้น-ลง) เป็นต้น

 

 

——————————————————–

http://www.egat.co.th

10 อันดับมหาธรณีพิบัติ ครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

ภัยพิบัติทางธรรมชาติบนโลกนี้มีหลายประเภท ทั้งอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย แต่ที่ร้ายแรงและสร้างความเสียหายมากที่สุดนั้น เห็นจะเป็นเหตุ  ‘ธรณีพิบัติ’  หรือแผ่นดินไหว นับจากอดีตกาล แผ่นดินไหวเคยเกิดขึ้นมาบนโลกนี้นับครั้งไม่ถ้วน สร้างความเสียหาย และส่งผลกระทบต่อโลกมากมาย ทั้งยังไม่อาจทำนายได้ว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใดอีกด้วย…

geohazardtop10-1

นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา จึงกำหนดเกณฑ์การวัดขนาดของแผ่นดินไหว เพื่อให้ง่ายต่อการแบ่งระดับความรุนแรง และคาดการณ์ความเสียหาย รวมถึงผลที่อาจตามมาจากแผ่นดินไหวไว้หลายรูปแบบ ทั้งมาตราริกเตอร์ มาตราแคลลี และที่ใช้มากที่สุดในปัจจุบัน คือ มาตราระดับแมคนิจูด และบันทึกเก็บไว้เป็นสถิติ โดยแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด 10 อันดับ ที่มนุษยชาติเคยพบเจอ มีดังนี้

อันดับที่ 10
แผ่นดินไหวที่เมือง บัลปาไรโซ ประเทศชิลี ปี 1730

geohazardtop10-2

ภาพวาด เมืองบัลปาไรโซ ปี 1730

เกิดเมื่อเวลา 04.45 น. ของวันที่ 8 ก.ค. 1730 มีขนาดแรงสั่นสะเทือนที่ระดับ 9.0 ก่อนปรับลดลงมาเหลือ 8.75 ในภายหลัง แผ่นดินไหวครั้งนี้ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิสูงถึง 16 ม. ตลอดแนวชายฝั่งของประเทศชิลี กินระยะทางกว่า 1,000 กม. จนทำให้เกิดน้ำท่วมหนักในพื้นที่ตอนล่างของเมืองบัลปาไรโซ เมืองท่าสำคัญ(ในปัจจุบัน)ของประเทศชิลี นอกจากนี้ คลื่นสึนามิยังเดินทางไปถึงเมืองคัลเลาของประเทศเปรู และทำให้เกิดน้ำท่วมที่จังหวัดริคุเซน และคาบสมุทรโอชิคะ ของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

geohazardtop10-3

จุดเกิดแผ่นดินไหว

ในด้านของความเสียหาย สิ่งก่อสร้างในเมืองบัลปาไรโซ โคควิมโบ อิลลาเปล เปตอร์กา และเมืองทิลทิล ของชิลี ล้วนได้รับความเสียหายทั้งหมด แต่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้เพียงไม่กี่รายเท่านั้น เนื่องจากเกิดฟอร์ช็อก (แผ่นดินไหวที่เกิดก่อนแผ่นดินไหวขนาดใหญ่) ขึ้นมาก่อน ทำให้ประชาชนหนีออกมาจากอาคารที่พักอาศัยได้เร็ว ทำให้รอดพ้นจากการถล่มของอาคาร รวมถึงประชาชนยังเห็นการเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเลที่ลดต่ำลงมาก จึงพากันหลบหนีขึ้นสู่ที่สูง และรอดพ้นจากคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาได้

อันดับที่ 9
แผ่นดินไหวที่เขตมุดตัวของเปลือกโลกคาสคาเดีย สหรัฐอเมริกา ปี 1700

geohazardtop10-4

ภาพจำลองสึนามิที่เกิดขึ้น

จากหลักฐานที่ผู้เชี่ยวชาญได้มา ทำให้เชื่อว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันที่ 26 ม.ค. ปี 1700 ที่แนวเขตมุดตัวของเปลือกโลกคาสคาเดีย ของสหรัฐอเมริกา วัดขนาดของแผ่นดินไหว ได้ที่ 8.7-9.2 แผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก และแผ่นฮวน เด ฟูกา แยกออกจากกันเป็นแนวยาวกว่า 1,000 กม. หรือเทียบเท่ากับระยะจากพื้นที่ตอนกลางของเกาะแวนคูเวอร์ของแคนาดาขึ้นไป จนถึงพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้แผ่นฮวน เด ฟูกา เคลื่อนมุดลงไปใต้แผ่นอเมริกาเหนือถึง 20 เมตร จนเกิดเป็นแผ่นดินไหว และคลื่นยักษ์ สึนามิ ซึ่งเดินทางไปถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย

geohazardtop10-5

ภาพจำลองการเกิดแผ่นดินไหว

อย่างไรก็ดี ในอดีตไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวครั้งนี้ไว้มากนัก รวมถึงผลกระทบของคลื่นสึนามิที่มีต่อภูมิภาคอื่นที่ได้รับผลกระทบ โดยหลักฐานที่ว่าเคยเกิดแผ่นดินไหว และเกิดคลื่นสึนามิถึงประเทศญี่ปุ่นนั้น มาจากการศึกษาทฤษฎีกาลานุกรมต้นไม้ หรือการหาอายุ ด้วยการวิเคราะห์วงการเติบโตของต้นไม้ และพบว่า วงเติบโตวงสุดท้ายของของต้นไม้ที่ตายตามแนวป่าชายฝั่ง ซึ่งอยู่ในเขต ได้รับผลกระทบของสึนามิ ล้วนเกิดขึ้นในปี 1699

อันดับที่ 8
แผ่นดินไหวที่ชิลี ปี 2010

geohazardtop10-6

ชิลี 2010

อีกหนึ่งแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดของประเทศเทศชิลี เหตุการณ์เกิดเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2010 เมื่อเวลา 03.34 น. ตามเวลาของชิลี วัดขนาดความรุนแรงได้ที่ระดับ 8.8 ที่ความลึก 35 กม. และอยู่ห่างจากชายฝั่งประเทศชิลีเพียง 3 กม. แผ่นดินไหวครั้งนี้สั่นสะเทือนอยู่นานกว่า 3 นาที โดยประชาชนชาวชิลีกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ รวมถึงในบางพื้นที่ของประเทศอาร์เจนตินา อย่างกรุงบัวโนสไอเรส หรือเมืองคอร์โดบา รวมถึงที่เมืองไอคาทางตอนใต้ของประเทศเปรูด้วย

geohazardtop10-7

แผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้เกิดคลื่นสึนามิซัดถล่มตามแนวชายฝั่งทางใต้ของชิลี มีการเตือนภัยแผ่นดินไหวใน 53 ประเทศ ขณะที่คลื่นยักษ์ได้สร้างความเสียหายแก่การประมงของญี่ปุ่น คิดเป็นมูลค่ากว่า 66.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนความเสียหายในประเทศชิลี ซึ่งเป็นจุดเกิดแผ่นดินไหว เกิดเหตุไฟฟ้าดับขึ้นในพื้นที่กว่า 93 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ จนรัฐบาลต้องประกาศเป็นภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน และส่งกำลังทหารเข้าไปช่วยเหลือยังพื้นที่ประสบภัย

จากข้อมูลของสำนักงานภัยพิบัติแห่งชาติของชิลี ระบุว่า มีบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติในครั้งนี้กว่า 3.7 แสนหลัง มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 525 ราย ขณะที่ยังมีผู้สูญหายอีก 25 คน

อันดับที่ 7
แผ่นดินไหวที่เอกวาดอร์-โคลอมเบีย ปี 1906

geohazardtop10-8

เอกวาดอร์-โคลอมเบีย ปี 1906

เหตุเกิดเมื่อวันที่ 31 ม.ค. ปี 1906 ที่บริเวณนอกชายฝั่งของประเทศเอกวาดอร์ ใกล้กับเมืองเอสเมอรัลดาส์ สามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ที่ระดับ 8.8 โดยต้นตอของแผ่นดินไหวในครั้งน้ี เกิดจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกแนซกา เข้าสู่แผ่นอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากการดันตัวของเปลือกโลก

ในส่วนของความเสียหาย ไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหวโดยตรง หากแต่เป็นคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ก่อตัวจนมีความสูงกว่า 5 เมตร ซัดเข้าสู่พื้นที่เมือง ริโอ เวอร์ดี ของเอกวาดอร์ และที่เมืองไมคาย ของโคลอมเบีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 500 ถึง 1,500 ราย

geohazardtop10-9

อันดับที่ 6
แผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ปี 1833

geohazardtop10-10

จุดเกิดแผ่นดินไหว

ในวันที่ 25 พ.ย. ปี 1833 เวลาประมาณ 22.00 น. ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นที่นอกชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย วัดขนาดแรงสั่นสะเทือนได้ที่ 8.8-9.2 เนื่องจากข้อมูลไม่ชัดเจน แต่จากหลักฐานทางธรรมชาติจากเกาะวงแหวนปะการัง (แอทอล:atoll) ทำให้สรุปได้ว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นจริง

ที่เมืองเบงกูลู สามารถรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนนานถึง 5 นาที ขณะที่เมืองปาดัง รู้สึกได้นาน 3 นาที โดยจากหลักฐานที่รวบรวมมา ชี้ว่าเกิดแผ่นดินแยกขนาดใหญ่ขึ้นในภูมิภาคดังกล่าวด้วย ขณะที่ข้อมูลความเสียหายอื่นๆ เช่น ความเสียหายของสิ่งก่อสร้าง หรือจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ไม่ถูกบันทึกเอาไว้ ทราบแต่ว่ามีความเสียหายจำนวนมหาศาลเท่านั้น

อันดับที่ 5
แผ่นดินไหวที่คาบสมุทรโตโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ปี 2011

geohazardtop10-11

สึนามิที่ญี่ปุ่น

แผ่นดินไหว ซึ่งถือว่าสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ นอกจากจะต้องเผชิญกับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ระดับ 9.0 แล้ว ยังต้องเจอกับคลื่นยักษ์สึนามิ ที่มีความสูงกว่า 40.5 ม. เข้าเล่นงานในพื้นที่ชายฝั่งทางตะวันออกอีก โดยคลื่นซัดขึ้นมาบนชายฝั่งเป็นระยะทางกว่า 10 กม. สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล อันนำไปสู่เหตุเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา ไดอิจิ ที่ยังแก้ปัญหาไม่ตกมาจนถึงปัจจุบัน

geohazardtop10-13

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา ไดอิจิ

ความเสียหายจากทั้งแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิ และวิกฤตการณ์กัมมันตภาพรังสีรั่วไหล ที่ประดังเข้ามาพร้อมกัน ทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น จำนวน 15,842 ราย บาดเจ็บ 5,890 คน และสูญหายกว่า 3,485 ชีวิต บ้านเรือนพังเสียหาย หรือพังทลายกว่า 1.25 แสนอาคาร

ธนาคารโลกประเมินค่าความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ ที่ 2.35 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 7.35 ล้านล้านบาท) ทำให้เหตุการณ์นี้เป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหาย คิดเป็นมูลค่ามากที่สุดที่เคยมีการบันทึกไว้ แต่ที่น่าตกใจไม่แพ้กันคือ แผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้เกาะฮอนชูของญี่ปุ่น เคลื่อนตัวไปทางตะวันออก ประมาณ 2.4 ม. และยังส่งผลให้แกนโลกเปลี่ยนไปจากเดิมถึง 10-25 ซม. อีกด้วย

geohazardtop10-14

จังหวัดอิวาเตะ

อันดับที่ 4
แผ่นดินไหวที่คาบสมุทรคัมชัตกา ประเทศรัสเซีย ปี 1952

geohazardtop10-15

เกิดเมื่อวันที่ 4 พ.ย. ปี 1952 เวลา 04.58 น. ตามเวลาท้องถิ่น ที่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรคัมชัตกา ประเทศรัสเซีย โดยจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ทะเลราว 30 กม. วัดขนาดความสั่นสะเทือนได้ที่ 8.2 ก่อนที่จะปรับเป็น 9.0 ในปีต่อมา สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ในภูมิภาคคัมชัตกา และเกาะคูริล

คลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ มีความสูงกว่า 9 ม. และเดินทางไปถึงรัฐฮาวายของอเมริกา สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ในขณะนั้น) ขณะที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเลยแม้แต่รายเดียว นอกจากนี้ยังเคลื่อนตัวไปถึงรัฐอะลาสกา ชิลี นิวซีแลนด์อีกด้วย

geohazardtop10-16

จุดเกิดแผ่นดินไหวรัสเซีย

 

อันดับที่ 3
แผ่นดินไหวที่มหาสมุทรอินเดีย ปี 2004

geohazardtop10-17

หรือที่ชาวไทยรู้จักกันในชื่อแผ่นดินไหวในทะเลอันดามันที่เกาะสุมาตรา เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. พ.ศ. 2549 ซึ่งก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดเข้าใส่พื้นที่ภาคใต้ของไทย และสร้างความเสียหายอย่างมาก นับเป็นเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ที่ประชาชนคนไทยไม่มีวันลืม

แผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ ชายฝั่งทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย วัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ที่ระดับ 9.1-9.3 ที่ความลึกราว 30 กม. และสั่นไหวต่อเนื่องนานถึง 8-10 นาที ด้วยความรุนแรงขนาดนี้ ทำให้แผ่นดินบนโลก เคลื่อนตัวไปจากจุดเดิมถึง 1 ซม. และยังก่อให้เกิดแผ่นดินไหวอื่นๆตามมาในหลายๆแห่งทั่วโลก

geohazardtop10-18

สำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ(ยูเอสจีเอส) เผยว่า ยอดผู้เสียชีวิต(ที่ได้รับการยืนยัน)ทั้งหมด จากแผ่นดินไหวและสึนามิในครั้งนี้ ทั้งสิ้น 227,898 ราย โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด มีผู้เสียชีวิตถึง 1.7 แสนราย และสึนามิยังสร้างความเสียหายตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ที่ห่างออกไปกว่า 8 พัน กม.ด้วย ขณะที่ไทยเองก็มีผู้เสียชีวิต(ตามรายงานของยูเอสจีเอส) ถึง 8,212 ราย

หลังจากเกิดเหตุ นานาประเทศ ทั้งออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐฯและอื่นๆ ต่างระดมเงิน เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประเทศที่ได้รับความเสียหายจากหายนะครั้งนี้ โดยระดมทุนได้ถึง 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ในขณะนั้น)ทีเดียว

geohazardtop10-19

ประเทศที่ได้รับผลกระทบ(สีเหลือง)

อันดับที่ 2
แผ่นดินไหวที่อะลาสกา สหรัฐอเมริกา ปี 1964

geohazardtop10-20

หรืออีกชื่อหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักคือ แผ่นดินไหววันกูดฟรายเดย์(วันศุกร์ก่อนวันอีสเตอร์) เกิดเมื่อเวลา 05.36 น. ของวันที่ 27 มี.ค. 1964 บริเวณตอนใต้ของรัฐอะลาสกา มีความลึกเพียง 14 กม. วัดระดับการสั่นสะเทือนได้ที่ระดับ 9.2 และสั่นสะเทือนอยู่นานเกือบ 4 นาที นับเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯและทวีปอเมริกาเหนือทีเดียว

มหันตภัยครั้งนี้ ทำให้อาคารส่วนใหญ่ในพื้นที่ตอนล่างของรัฐอะลาสกาพังทลายไม่เหลือ ซ้ำยังเกิดแผ่นดินแยกและดินถล่มในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่เขตปกครองตนเองแองเคอเรจ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทั้งอาคาร สิ่งก่อสร้าง ถนน ท่อประปา ท่อระบายน้ำ ระบบไฟฟ้า ล้วนพังเสียหายทั้งหมด

geohazardtop10-21

จากการประเมินของสหรัฐฯ ความเสียหายครั้งนี้คิดเป็นมูลค่ากว่า 310 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(หรือเท่ากับ 2.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปัจจุบัน) อย่างไรก็ดี มีรายงานผู้เสียชีวิตเพียงแค่ 143 รายเท่านั้น ซึ่งนับว่าน้อยมาก หากเทียบกับความพินาศที่เกิดขึ้น

อันดับที่ 1
แผ่นดินไหวที่บัลดิเบีย ประเทศชิลี ปี 1960

geohazardtop10-22

และแล้วก็มาถึงแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก เท่ามีเคยมาการบันทึกสถิติเป็นต้นมา หายนะในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 1960 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองลูมาโค ของจังหวัดมอลเลโค ที่ความลึก 33 กม. วัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ที่ระดับ 9.5 (สูงสุดคือ 10.0) ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิสูงถึง 25 ม. เคลื่อนตัวข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ไปจนถึงมลรัฐฮาวายของสหรัฐฯ ซึ่งห่างจากจุดเกิดเเผ่นดินไหว ถึง 1 หมื่น กม. โดยคลื่นยังคงสูงอยู่ที่ระดับ 10.7 ม.

อาณาเขตการทำลายล้างของแผ่นดินไหว กินพื้นที่ถึง 4 แสน ตร.กม. โดยบัลดิเบีย เมืองหลวงของชิลีในขณะนั้น เป็นเมืองที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด อาคารบ้านเรือนกว่า 40 เปอร์เซ็นต์พังทลาย ขณะที่สิ่งก่อสร้างที่ทำจากคอนกรีตเกือบทั้งหมดได้รับความเสียหาย ทำให้ประชาชนกว่า 2 หมื่นชีวิต กลายเป็นผู้ไร้บ้าน

geohazardtop10-23

ไม่เพียงเท่านี้ แผ่นดินไหวยังทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นถึง 4 ม. จนเกิดน้ำท่วมหนักกระทบผู้คนราวหนึ่งแสนราย และยังเป็นการกระตุ้นให้ภูเขาไฟคอร์ดัน เคาเล ระเบิดในวันที่ 24 พ.ค. พ่นเถ้าภูเขาไฟขึ้นสู่ท้องฟ้า สูงกว่า 5.5 กม. และปะทุต่อเนื่องยาวนานไปจนถึงวันที่ 22 ก.ค. แต่เคราะห์ดี ที่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

จำนวนผู้เสียชีวิต และมูลค่าความเสียหาย ไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เนื่องจากในยุคนี้ยังไม่มีการกระจายข่าวสารเรื่องของภัยพิบัติ แต่ยูเอสจีเอส ออกมาระบุผลการวิเคราะห์ว่า น่าจะมีผู้เสียชีวิตราว 2,231-6,000 ราย ส่วนในด้านมูลค่าความเสียหายเนื่องจากข้อมูลที่ได้มาไม่ตรงกัน จึงกำหนดขอบเขตไว้คร่าวๆ ที่ 400 ล้าน-800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 2.9 พันล้าน-5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปัจจุบัน)

ทั้งหมดคือแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดเท่าที่โลกเคยพบมา จริงอยู่ว่า การเกิดแผ่นดินไหวนั้นไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่อย่างไรก็ดี มนุษย์สามารถเรียนรู้จากอดีต และปรับตัวเพื่อรับมือกับหายนะที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้าได้.

 

 

———————————————-

data sources:

http://www.thairath.co.th/content/225103

วงแหวนไฟ (Ring of Fire) คืออะไร

วงแหวนไฟ (Ring of Fire) เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟคุกรุ่นทั้งโลก ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt

แผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 90 ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่าร้อยละ 80 ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนไฟ นอกจากวงแหวนไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตรา ผ่านเทือกเขาหิมาลัย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 17 ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 5-6 ของทั้งโลก วงแหวนไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนัซกาและแผ่นโกโกส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนเดฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณหมู่เกาะอะลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียนา ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบูเกนวิลล์ ประเทศตองกา และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนไฟยังมีแนวต่อไปเป็นแนวแอลไพน์ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่ตั้งบนวงแหวนไฟนี้ ได้แก่ รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัสในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.0 เมื่อ ค.ศ. 1929 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 8.1 ในปี ค.ศ. 1949 (แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา) และแผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.4 ในปี 1970

Pacific_Ring_of_Fire.svg

ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในวงแหวนไฟ เช่น ภูเขาไฟบียาร์รีกา ประเทศชิลี; ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ได้พ่นเถ้าถ่านออกมากว่า 1.2 ลูกบาศก์กิโลเมตร; ภูเขาไฟฟุจิ ประเทศญี่ปุ่น ระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1707; ภูเขาไฟปินาตูโบ ภูเขาไฟมายอน ภูเขาไฟตาอัล และภูเขาไฟกันลาออน ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งภูเขาไฟปินาตูโบเคยเกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1991; ภูเขาไฟแทมโบรา ภูเขาไฟเคลูด และภูเขาไฟเมราปี ประเทศอินโดนีเซีย; ภูเขาไฟลูอาเปทู ประเทศนิวซีแลนด์ และภูเขาไฟเอริบัส ทวีปแอนตาร์กติกา

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในแนววงแหวนไฟนี้ เช่น แผ่นดินไหวคาสคาเดีย แมกนิจูด 9.0 เกิดเมื่อ ค.ศ. 1700; แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตาในแคลิฟอร์เนีย; แผ่นดินไหวภาคคันโตในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1923 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 ราย; แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในฮันชินในปี 1995 และครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้ คือแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ. 2004 บริเวณมหาสมุทรอินเดีย แมกนิจูด 9.3 ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดถล่มบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่ถูกถล่มด้วยคลื่นขนาด 10 เมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 230,000 ราย

ประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนววงแหวนไฟ ได้แก่ ประเทศเบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลอมเบีย ชิลี คอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์-เลสเต เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาส เม็กซิโก นิวซีแลนด์ นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ตองกา ตูวาลู และสหรัฐอเมริกา

วีดีโอยูทูปเรื่อง Ring of Fire Full Documentary

 

วีดีโอยูทูปเรื่อง The ‘Ring Of Fire Is Shaking Violently’ – Massive Uptick In Earthquakes And Volcano Eruptions

 

วีดีโอยูทูปเรื่อง Full Documentary History Channel – How the Earth Was – Ring of Fire – Full Documentary Films

 

วีดีโอยูทูปเรื่อง Earth Story – Ring Of Fire

 

วีดีโอยูทูปเรื่องThe Pacific Ring of Fire

—————————————————-
data sources:
http://th.wikipedia.org

บ้านท่านอยู่ในเขตภัยพิบัติแผ่นดินไหวหรือไม่ ตรวจสอบอย่างไร?

จากแผนที่ภัยพิบัติแผ่นดินไหวของประเทศไทย หรือ Seismic Hazard Map of Thailand  โดยกรมทรัพยากรธรณี เมื่อเดือนตุลาคมปี 2556 แสดงค่าระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวของประเทศไทย ซึ่งมีโอกาศเกิด 10 % ในคาบเวลา 50 ปี ตามสภาพธรณีวิทยา มีระดับความรุนแรงแผ่นดินไหวตามมาตราเมอร์คัลลี่ ดังนี้

  • น้อยกว่า III (โซนสีเขียว) : เป็นระดับเบา คนธรรมดาไม่รู้สึก แต่เครื่องวัดสามารถตรวจจับได้
  • น้อยกว่า IV (โซนสีเขียวอ่อน) : เป็นระดับพอประมาณ คนสัญจรไปมารู้สึกได้
  • น้อยกว่า V (โซนสีเหลือง) : เป็นระดับค่อนข้างแรง คนที่นอนหลับตกใจตื่น
  • น้อยกว่า VII (โซนสีเหลืองเข้ม) : เป็นระดับแรง ต้นไม้สั่น บ้านแกว่ง สิ่งปลูกสร้างบางชนิดพัง
  • น้อยกว่า VII (โซนสีส้ม) : เป็นระดับแรงมาก ฝาห้องแยก ร้าง กรุเพดานร่วง

บ้านท่านใดอยู่ในจังหวัดไหน มีโอกาศเกิดแผ่นดินไหวและความรุนแรงจะประมาณไหน สามารถดูได้จากแผนที่ด้านล่างครับ

จะเห็นว่าส่วนใหญ่จะอยู่เขตภาคเหนือ ภาคตะวันตกและ ภาคใต้ของประเทศไทย

  • article_20140507091744

ภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย

สำหรับภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยนั้น ค่อนข้างโชคดีด้วยลักษณะภูมิประเทศและที่ตั้งของประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่แนวแผ่นดินไหวของโลก   แนวที่ใกล้ที่สุดอยู่ในประเทศพม่า  ทะเลอันดามัน และด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา  ซึ่งค่อนข้างมีระยะห่างจากแหล่งชุมชนของประเทศไทยมาก  ดังนั้นประเทศไทยจึงถูกจัดอยู่ในบริเวณที่มีภัยแผ่นดินไหวระดับต่ำจนถึงปานกลาง  ซึ่งสามารถยืนยันจากข้อมูลในประวัติศาสตร์และสถิติอดีตที่ผ่านมาประมาณ 700-800 ปีประเทศไทยยังไม่เคยมีประวัติความเสียหายรุนแรงจากแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในประเทศ ยกเว้นกรณีเมืองโยนกนคร ในภาคเหนือ ซึ่งมีประวัติความเสียหายรุนแรงเมื่อพันกว่าปีที่ผ่านมา

13992987881399299080l

แม้ว่ายังไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศไทย แต่พบว่าแผ่นดินไหวขนาดระดับปานกลาง ต่ำกว่า  6.0 ริกเตอร์อาจเกิดใกล้แหล่งชุมชนได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงและไม่ได้ออกแบบสร้างให้ต้านทานต่อแผ่นดินไหว   ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใกล้รอยเลื่อนมีพลัง ดังเช่นการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.0 ริกเตอร์ ที่จังหวัดเชียงราย

แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยและพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

กรมทรัพยากรธรณีแบ่งกลุ่มรอยเลื่อนมีพลัง ออกเป็น 14 กลุ่ม  ส่วนมากมีตำแหน่งบริเวณ ภาคเหนือและด้านตะวันตกของประเทศ ดังแสดงในรูปที่ 1 จากการรายงานของกรมทรัพยากรธรณีวิทยา พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังทั้งหมด 14 รอยเลื่อน  โดยกระจายอยู่ใน 22 จังหวัด ได้แก่

  1.  รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กิโลเมตร
  2. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
  3. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร
  4. รอยเลื่อนเมย วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ พาดผ่านตั้งต้นจากลำน้ำเมย ชายแดนพม่า ต่อไปยังห้วยแม่ท้อ ลำน้ำปิง จังหวัดตาก ไปถึงจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และสิ้นสุดที่จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร
  5. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  6. รอยเลื่อนเถิน พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร
  7. รอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  8. รอยเลื่อนปัว พาดผ่านพื้นที่อำเภอสันติสุข อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง และอำเภอทุ่งช้าง ของจังหวัดน่านในแนวเหนือ-ใต้  ด้วยความยาวประมาณ  130 กิโลเมตร
  9. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ  150 กิโลเมตร
  10. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
  11. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  12. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร
  13. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ จังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบ คีรีขันธ์ และพังงา  มีความยาวประมาณ 270 กิโลเมตร
  14. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา พาดผ่านไปตามทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตร

article_20140507091801

รูปที่  1  รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย   13  กลุ่ม(จัดทำโดยกรมทรัพยากรธรณี)

และได้จัดพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวดังแสดงในรูปที่  2    ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบสิ่งก่อสร้างต้านแผ่นดินไหว  ในบริเวใกล้รอยเลื่อนมีพลัง  ปัจจุบันในแต่ละรอยเลื่อนมีพลังปรากฏว่าเกิดแผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางซึ่งแสดงถึงว่าเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัวและขยับตัวปลดปล่อยพลังงานมาเป็นระยะๆ   โดยทั่วไปแผ่นดินไหวมีคาบการเกิดซ้ำในบริเวณรอยเลื่อนมีพลังความยาวนานของการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นกับลักษณะการสะสมพลังงานภายในเปลือกโลก การศึกษาให้ทราบถึง ลักษณะเฉพาะของแต่ละรอยเลื่อนมีพลังจะทำให้ทราบถึง ขนาดและช่วงเวลาการเกิดแผ่นดินไหวในอดีตซึ่งอาจทำให้เข้าใจการเกิดแผ่นดินไหวย้อนไปหลายพันปี   สำหรับประเทศไทยนักธรณีวิทยาได้เริ่มทำการสำรวจและศึกษารอยเลื่อนมีพลังแล้วในหลายกลุ่มรอยเลื่อนพบว่าหลายกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังมีศักยภาพทำให้เกิดแผ่นดินไหวในระดับขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่แต่คาบการเกิดซ้ำค่อนข้างยาวนานหลายร้อยหรือหลายพันปี   อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องทำการศึกษา วิจัย ทุกกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังซึ่งต้องการเวลา  บุคคลากรและงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทราบชัดถึงลักษณะแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่เป็นอันตราย ต่อชุมชนที่อยู่ใกล้ๆ  โดยสรุป บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยเป็นบริเวณใกล้รอยเลื่อนมีพลังในภาคเหนือ  ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

article_20140507091744

รูปที่  2   แผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว  (จัดทำโดยกรมทรัพยากรธรณี)

นอกจากแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย   แผ่นดินไหวขนาด ปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ ตั้งแต่  6.0  ริกเตอร์ขึ้นไป ซึ่งมีศูนย์กลางตามแนวแผ่นดินไหวของโลกในประเทศพม่า ทะเลอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์  หรือแนวรอยเลื่อนมีพลังนอกประเทศบริเวณ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   ตอนใต้ของประเทศจีน เป็นต้น   อาจส่งความสั่นสะเทือนรุนแรงมายังประเทศไทยได้  ผู้อาศัยบนอาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพมหานครรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนได้ดีเนื่องจาก อาคารและสิ่งก่อสร้างส่วนมากในกรุงเทพสร้างบนดินอ่อนซึ่งมีคุณสมบัติโยกไหวได้ง่าย ในกรณีของแผ่นดินไหวใหญ่ที่อยู่ไกลออกไป

eqthai6richter

รูปที่ 3  แสดงตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศและนอกประเทศ  จากการตรวจวัดของสถานีตรวจแผ่นดินไหว

 
วีดีโอยูทูป เรื่อง

————————————————————————-

data sources:

http://th.wikipedia.org

http://www.dmr.go.th

การทำนายหรือพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหว สามารถทำได้หรือไม่อย่างไร?

แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งตำแหน่ง ขนาด และเวลาเกิด แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยี เครื่องมือตรวจวัดที่ทันสมัย แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษา วิเคราะห์ถึงลักษณะต่าง ๆ ของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว สิ่งบอกเหตุก่อนเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หรือปรากฏการณ์ล่วงหน้า (Precursory phenomena) อาจเป็นสิ่งเตือนภัย หรือลางบอกเหตุสัญญาณให้รู้ว่า อีกไม่นานจะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ในอเมริกา รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น ต่างให้ความสนใจ พยายามค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการบางอย่างกันมาก  โดยอาศัยจากการสังเกตสิ่งต่อไปนี้

1) ลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากสภาพปกติก่อนการเกิดแผ่นดินไหว เช่น

  1. แรงเครียดในเปลือกโลกเพิ่มขึ้น โดยใต้ผิวโลกจะมีความร้อนสูงกว่าบนผิวโลก จึงทำให้เปลือกโลกเกิดการขยายตัว หดตัวไม่สม่ำเสมอ โดยที่เปลือกโลกส่วนล่างจะมีการขยายตัวมากกว่า
  2. การเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก และแรงโน้มถ่วงของโลก เช่น ค่าความเข้มสนามแม่เหล็กโลกเปลี่ยนแปลงไป
  3. สภาพการนำไฟฟ้าของหินเปลี่ยนแปลง
  4. การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก เช่น พื้นดินเกิดการยกตัวขึ้นมาอย่างผิดปกติ
  5. น้ำใต้ดินมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวและการขยายตัวของเปลือกโลกใต้ชั้นหินรองรับน้ำ
  6. ปริมาณแก๊สเรดอนเพิ่มขึ้น เช่น มีปริมาณก๊าชเรดอนในบ่อน้ำสูงกว่าปกติ

Charge_sign

2) บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว ถ้าบริเวณใดเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง โอกาสเกิดแผ่นดินไหวก็มีตามมาอีก และถ้าสถานที่นั้นเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรง ก็มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นอีกเช่นกัน นอกจากนี้บริเวณที่มีภูเขาไฟระเบิดมักจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นก่อนหรือหลังภูเขาไฟระเบิดได้ หรืออาจเกิดแผ่นดินไหวเล็กๆ เกิดขึ้นเป็นการเตือนภัยก่อน

3) การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ สัตว์หลายชนิดมีการรับรู้และมักแสดงท่าทางออกมาก่อนเกิดแผ่นดินไหว อาจจะรู้ล่วงหน้าเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้ เช่น

  1. สัตว์เลี้ยง สัตว์บ้านทั่วไปตื่นตกใจ เช่น สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี นก
  2. แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน
  3. หนู งู วิ่งออกมาจากที่อาศัย ถึงแม้ในบางครั้งจะเป็นช่วงฤดูจำศีลของพวกมัน
  4. ปลากระโดดขึ้นมาจากผิวน้ำ

สิ่งบอกเหตุก่อนเกิดแผ่นดินไหว สามารถสังเกตเบื้องต้น ได้จากสิ่งต่างๆ เหล่านี้

สัญชาตญาณของสัตว์
จากการศึกษาวิจัยของผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวพบว่า หากสัตว์ป่ามีพฤติกรรมผิดไปจากปกติ มักจะเกี่ยวข้องกับการเกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ทั้งนี้เพราะสัตว์มีความสามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดแผ่นดินไหว เป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งในการเอาชีวิตรอด

พฤติกรรมผิดปกติของนก
นกมีความรู้สึกไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะนกพิราบป่าจะไวเป็นพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวประเทศจีนพบว่า ขณะเกิดแผ่นดินไหวแรงสั่นสะเทือน 3 ริกเตอร์ขึ้นไป ฝูงนกพิราบป่าที่อยู่ภายในรัศมี 50 กม. จากศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะล่วงรู้ล่วงหน้า และบินหนีไปภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ กาและนกเลี้ยงบางชนิด เช่น นกแก้ว ก็มีความรู้สึกไวต่อการเกิดแผ่นดินไหวเช่นกัน

พฤติกรรมผิดปกติของปลา
– ปลาน้ำเค็ม เมื่อ ค.ศ. 1995 ก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่โกเบ ชาวประมงจับปลาได้ปลาได้มากกว่าปกติ และมีปลาจากทะเลลึกว่ายเข้ามาในเขตน้ำตื้นด้วย
-ปลาน้ำจืด ปลาน้ำจืดในแม่น้ำหรือทะเลสาบที่มีความรู้สึกไวต่อการเกิดแผ่นดินไหวหรือปลาคาร์ป ก่อนเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง เคยมีคนเห็นปลาคาร์ปจำนวนมากกระโดดขึ้นมาบนผิวน้ำเหมือนตกใจหนีอะไรบางอย่าง

พฤติกรรมผิดปกติของสัตว์เลื้อยคลาน
ผลการวิจัยพบว่า สัตว์ที่รู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดแผ่นดินไหวก่อนใครคืองู ทั้งนี้เพราะงูจำศีลอยู่ในโพรงใต้ดิน (งูในประเทศเขตหนาว) จึงรู้สึกถึงความผิดปกติได้ง่ายเมื่อมีการสั่นสะเทือนของเปลือกโลก มีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ฯลฯ และจะหลบภัยด้วยการเลื้อยขึ้นมาบนดินแม้จะเป็นช่วงฤดูหนาวก็ตาม

ตัวอย่างเช่นเมื่อ ค.ศ. 1855 ก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นหนึ่งวัน พบฝูงงูเลื้อยขึ้นมาบนดินหลายตัว เมื่อ ค.ศ. 1977 ตอนเกิดแผ่นดินไหวที่โรมาเนีย ก็มีฝูงงูเลื้อยขึ้นมาแข็งตายบนดิน เมื่อ ค.ศ. 1976 หนึ่งวันก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองถังซานประเทศจีน ก็มีฝูงงูจำนวนมากเข้าไปหลบอยู่ในซอกหิน

พฤติกรรมผิดปกติของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
กบก็แสดงพฤติกรรมผิดปกติเช่นเดียวกับงู เมื่อ ค.ศ. 1976 ไม่กี่ชั่งโมงก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่เมืองถังซานในประเทศจีน มีคนเห็นฝูงกบนับพันนับหมื่นตัวพากันอพยพ

พฤติกรรมผิดปกติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สุนัข ตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่โกเบ มีรายงานว่าสุนัขจะแสดงพฤติกรรมแปลกๆ มากที่สุด สุนัขเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดกับคน จึงสังเกตความผิดปกติจากสุนัขได้ง่าย และพบว่าก่อนเกิดแผ่นดินไหว สุนัขจะมีอาการตื่นตระหนก วิ่งไปวิ่งมา บางตัวก้าวร้าวขึ้น ส่วนบางตัวก็เห่าและหอน

แมว ก่อนเกิดแผ่นดินไหว แมวส่วนใหญ่จะหาที่หลบ ญี่ปุ่นมีคำโบราณกล่าวไว้ว่า “ก่อนแผ่นดินไหว แมวจะปีนขึ้นต้นไม้สูง” และมีคนเห็นเช่นนี้จริงๆ ก่อนเกิดแผ่นไหว แมวบางตัวแสดงอาการงุ่นง่าน วิ่งไปมา และส่งเสียงร้องอย่างกระวนกระวาย

หนู เมื่อ ค.ศ. 1923 ก่อนเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่คันโต หนูพากันหลบหนีไปหมด และตอนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่โกเบ ก็พบปรากฏการณ์หนูพากันหลบหนีเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าก่อนเกิดแผ่นดินไหวจะมีหนูติดกับดักเพิ่มขึ้น และหนูบางตัววิ่งพล่านไปทั่ว

การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน
นับแต่โบราณ ชาวจีนค้นคว้าหาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวกับระดับน้ำใต้ดิน และนำมาใช้ในการคาดการณ์การเกิดแผ่นดินไหว ตั้งแต่ ค.ศ. 1981-1985 มีรายงานความผิดปกติของระดับน้ำใต้ดินหลายครั้ง เป็นการลดลง 27 ครั้ง เพิ่มลดสลับกัน 3 ครั้ง น้ำใต้ดินเกิดคลื่น 3 ครั้ง และระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ 12 ครั้ง

ค.ศ. 1975 มีการคาดการณ์แผ่นดินไหวที่ชายฝั่งทะเลของประเทศจีนเป็นครั้งแรกของโลก จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า ก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่มีความสั่นสะเทือน 7 ริกเตอร์ขึ้นไป บางครั้งระดับน้ำใต้ดินที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติล่วงหน้าเป็นปี ๆ แต่หากแผ่นดินไหวที่มีความสั่นสะเทือนต่ำกว่า 6 ริกเตอร์ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดินครั้งแรกเกิดขึ้นราวสองสามเดือนก่อนแผ่นดินไหว

ความสั่นสะเทือนที่ใต้ดิน
ลางบอกเหตุแผ่นดินไหวที่พิเศษที่สุดคือเสียงสั่นสะเทือนที่ใต้ดิน เท่าที่ค้นพบในเวลานี้มีบันทึกเกี่ยวกับเสี่ยงสั่นสะเทือนจากใต้ดินในสมัยราชวงศ์เว่ย เมื่อ 1,500 ปีก่อนแล้ว ซึ่งบันทึกไว้ว่า ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 464 เกิดแผ่นดินไหวที่บริเวณเมืองเยียนเหมินฉี (มณฑลชานซีในปัจจุบัน) ก่อนเกิดแผ่นดินไหวมีเสียงสั่นสะเทือนจากใต้ดินดังครืนๆ เหมือนฟ้าร้องพอสงบลงก็เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง และในปี ค.ศ 1967 หลังเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่เมืองถังซาน ได้มีการสอบถามผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 1,000 กิโลเมตรจากศูนย์กลางของแผ่นดินไหว พบว่า 95 % ได้ยินเสียงดังครืนๆ อย่างชัดเจน

ชนิดของเสียงสั่นสะเทือนที่ใต้ดิน

สียงสั่นสะเทือนที่พื้นดินที่เป็นลางบอกเหตุแผ่นดินไหว มีมากหลายแบบ จากผลการวิจัยแบ่งได้เป็น 6 แบบคือ

  1.  เสียงฟ้อง : เป็นเสียงที่พบบ่อยที่สุด มักจะดังขึ้นก่อนเกิดแผ่นดินไหว
  2. เสียงพายุ: ดังเหมือนพายุพัด คล้ายเสียงร้องของช้างพลาย
  3. เสียงระเบิด: ดังตูมตามเหมือนเสียงระเบิดขนาดใหญ่
  4. เสียงเครื่องยนต์: ดังเหมือนเสียงรถยนต์ รถไถ รถรางไฟฟ้า หรือเครื่องบิน
  5. เสียงเลื่อยไม้: ตอนเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่เมืองถังซาน มีคนจำนวนไม่น้อยได้ยินเสียสั่นสะเทือนที่ใต้ดินที่ดังเหมือนเสียงระเบิดและเสียงเลื่อยไม้
  6. เสียงฉีกผ้า: เสียงนี้มักได้ยินที่ทะเลมากกว่าบนบก

ความเชื่อของคนในสมัยโบราณเกี่ยวกับแผ่นดินไหว

คนในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เกิดจากฝีมือของเทพเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ชาวโรมันโบราณคิดว่าเทพเจ้าที่ชื่อว่า วัลแคน อาศัยอยู่ในภูเขาไฟ เทพองค์นี้ทรงเป็นช่างตีเหล็กให้กับเทพเจ้าองค์อื่น ๆ เมื่อใดที่มีควันและเปลวไฟพุ่งออกมาจากภูเขาไฟ ชาวโรมันก็คิดว่าเทพเจ้าวัลแคนกำลังติดไฟในเตาหลอมอยู่ และเมื่อแผ่นดินสั่นสะเทือนก็หมายถึงว่าเทพเจ้าวัลแคนกำลังตีเหล็กหลอมอยู่บนทั่ง

ชาวกรีกโบราณเชื่อว่าเทพเจ้าองค์หนึ่ง มีชื่อว่า โพไซดอน เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหว เทพเจ้าโพไซดอนมีรูปร่างขนาดใหญ่ เมื่อพิโรธก็จะกระทืบเท้า ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ส่วนชาวฮินดูในประเทศอินเดียเชื่อว่าโลกของเราตั้งอยู่บนถาดทองคำซึ่งวางอยู่บนหลังช้างหลายเชือกติดกัน เมื่อใดที่ช้างเคลื่อนไหว โลกก็จะสั่นสะเทือนไปด้วย และเกิดเป็นแผ่นดินไหว ส่วนคนญี่ปุ่นเชื่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า มีปลาดุกยักษ์อยู่ใต้พื้นดิน และเมื่อใดที่ปลาดุกยักษ์พลิกตัวหรือขยับเขยื้อนแต่ละครั้ง ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหว[2]ความเชื่อของคนไทยโบราณคล้ายคลึงกับคนญี่ปุ่นแต่เปลี่ยนเป็นปลาอานนท์ใต้เขาพระสุเมรุพลิกตัว

 

วีดีโอยูทูปเรื่อง Earthquake prediction: a science on shaky ground

 

วีดีโอยูทูปเรื่อง Predicting Earthquakes: How Japan Is Learning From The Past

 

วีดีโอยูทูปเรื่อง Earthquake Science : Documentary on Earthquake Disaster and Prediction

 

วีดีโอยูทูปเรื่อง BBC Documentary – Why Cant We Predict Earthquakes ?

 

วีดีโอยูทูปเรื่อง Predicting Earthquakes | Documentary on Earthquake Prediction Complete Documentary

 

วีดีโอยูทูปเรื่อง มดทำนายเตือนแผ่นดินไหวล่วงหน้า

———————————————————————

data sources :

http://th.wikipedia.org

http://www.dmr.go.th

แผ่นดินไหวในประเทศไทย ย้อนดูสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในรอบ 40 ปี

แผ่นดินไหวในประเทศไทย เปิดสถิติข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทย ในรอบ 40 ปี ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศไทย และมีระดับความรุนแรงตั้งแต่ 4.0 แมกนิจูดขึ้นไป

2015-12-14_21-49-57

ข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 18.08 น. ของวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย นับเป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 50-100 ปี เพราะมีขนาดความรุนแรงมากถึง 6.3 แมกนิจูด สร้างความเสียหายให้บ้านเรือนประชาชน สิ่งปลูกสร้างในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงไม่น้อย เพราะเป็นการเกิดแผ่นดินไหวบนบกที่ลึกจากพื้นดินเพียงแค่ 7.4 กิโลเมตรเท่านั้น

ทั้งนี้ เรื่องการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือเรื่องไกลตัว เพราะในประเทศไทยเองมีรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่มีพลังอยู่ถึง 14 รอยเลื่อน และเคยปรากฏเหตุแผ่นดินไหวมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย เรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ณ ปัจจุบัน ซึ่งก็มีระดับความรุนแรงตั้งแต่น้อยที่ไม่ทำให้เรารับรู้แรงสั่นสะเทือนไปจนถึงระดับความรุนแรงมากจนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน และเกิดความเสียหายขึ้นได้

สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2557 ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศไทย และเป็นแผ่นดินไหวที่ระดับความรุนแรง 4.0 แมกนิจูดขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่รับรู้แรงสั่นสะเทือน และทำให้วัตถุแกว่งไกวได้ มาย้อนให้รู้ไว้เป็นข้อมูลกัน

ข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทย เคยเกิดที่ไหนบ้าง และเกิดเมื่อไหร่ ไปดูกันเลย

วันที่ ขนาด   

   (แมกนิจูด)   

จุดศูนย์กลาง ความเสียหาย
5 พ.ค. 2557  6.3  อ.พาน จ.เชียงราย บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ในจังหวัดเชียงรายและใกล้เคียงเสียหาย รับรู้ แรงสั่นสะเทือนถึงตึกสูงใน กทม.
4 มิ.ย. 2555  4.0  อ.เมือง จ.ระนอง รู้สึกสั่นไหวที่ ต.เขานิเวศน์ ต.บางนอน อ.เมืองระนอง จ.ระนอง
16 เม.ย.2555  4.3  อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รู้สึกไหวในหลายพื้นที่ใน จ.ภูเก็ต บ้านเรือนแตกร้าวหลายหลัง
เกิดอาฟเตอร์ช็อกมากกว่า 26 ครั้ง ใน อ.ถลาง
23 ธ.ค. 2551  4.1  อ.พระแสง
จ.สุราษฎร์ธานี
รู้สึกสั่นไหวในบริเวณ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
19 มิ.ย.2550  4.5  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน
22 เม.ย.2550  4.5  อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ จ.พะเยา
 13 ธ.ค.2549  5.1  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นสะเทือนได้เกือบทั่วไปใน จ.เชียงใหม่ และอาคารสูงใน จ.เชียงราย
17 พ.ย.2549  4.4  อ.พาน จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.พาน และ อ.เมือง จ.เชียงราย
 15 ธ.ค.2548  4.1 จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เมือง อ.เทิง จ.เชียงราย
 4 ธ.ค.2548  4.1  จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูง จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน
18 ธ.ค.2545  4.3  อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่  รู้สึกได้ที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงราย
 2 ก.ค.2545  4.7  อ.เชียงแสน จ.เชียงราย  รู้สึกได้ที่ อ.เชียงแสน อ.เมือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย, อ.เมือง จ.พะเยา, อ.เมือง จ.น่าน มีความเสียหายเล็กน้อยบริเวณ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ
22 ก.พ.2544  4.3  เขื่อนเขาแหลม จ.กาญจนบุรี  รู้สึกได้ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
13 ก.ค.2541  4.1  อ.ฝาง จ.เชียงใหม่  รู้สึกได้ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย
 2 ก.พ.2540  4.0  บริเวณ อ.สอง จ.แพร่  รู้สึกได้ที่ อ.สอง จ.แพร่
 21 ธ.ค.2538 5.2  อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน มีผู้สูงอายุเสียชีวิตที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 1 คน จากการล้มศีรษะ กระแทกพื้น มีความเสียหายเล็กน้อยที่บริเวณใกล้ศูนย์กลาง
 9 ธ.ค.2538  5.1  อ.ร้องกวาง จ.แพร่  รู้สึกได้ที่ อ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ และน่าน เสียหายเล็กน้อย ที่ จ.แพร่
 5 พ.ย.2538  4.0  อ.ฝาง จ.เชียงใหม่  รู้สึกได้ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
17 ต.ค.2538  4.3  อ.ปาย แม่ฮ่องสอน  รู้สึกได้ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
11 ก.ย.2537  5.1  อ.แม่สรวย จ.เชียงราย  รู้สึกได้ที่ จ.เชียงราย มีความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง เช่น โรงพยาบาลพาน วัด และโรงเรียน
 8 พ.ค.2537  4.5  จ.เชียงใหม่  รู้สึกได้ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง จ.ลำพูน
 5 พ.ย.2534  4.0  จ.แม่ฮ่องสอน  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
 3 พ.ย.2533  4.0   จ.กาญจนบุรี  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
12 ต.ค.2533  4.0  จ. เพชรบูรณ์  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
28 พ.ค.2533  4.2   จ.กาญจนบุรี  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
15 ธ.ค.2532  4.0  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
29 พ.ย.2531  4.5  จ.กาญจนบุรี  สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
25 ก.ค.2531  4.2  จ.พะเยา  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่
19 ก.พ.2531  4.2  จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่
30 ส.ค.2526  4.2  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.กาญจนบุรี
18 ก.ค.2526  4.7  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
22 เม.ย.2526  5.2  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกแผ่นดินไหวตลอดภาคกลาง และภาคเหนือ ส่วนอาคารใน กทม. เสียหายเล็กน้อย
22 เม.ย.2526  5.9  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกแผ่นดินไหวตลอดภาคกลาง และภาคเหนือ ส่วนอาคารใน กทม. เสียหายเล็กน้อย
15 เม.ย.2526  5.5  จ.กาญจนบุรี  รู้สึกแผ่นดินไหวชัดเจนใน กทม.
20 มิ.ย.2525  4.3  จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง มีเสียงดังคล้ายฟ้าร้อง
22 ธ.ค.2523  4.0 จ.แพร่  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.แพร่
10 ก.พ.2523  4.2  จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ นาน 5 วินาที
24 ก.ค.2521  4.0  จ.ตาก  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.สามเงา อ.อุ้มผาง และ อ.แม่สอด จ.ตาก
26 พ.ค.2521  4.8 อ.พร้าว  จ.เชียงใหม่  เสียหายเล็กน้อยที่ อ.พร้าว รู้สึกสั่นไหวนาน 15 วินาที ที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง
17 ก.พ.2518   5.6  พม่า-ไทย (จ.ตาก) รู้สึกได้ทั้งภาคเหนือและภาคกลาง รวมถึง กทม. มีความเสียหายเล็กน้อย

ทั้งนี้ ยังมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นในแถบประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาว รวมทั้งในทะเลอันดามัน และประเทศอินโดนีเซีย ที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยด้วย โดยเหตุการณ์ครั้งใหญ่และรุนแรงที่สุดก็คือ การเกิดแผ่นดินไหวในทะเลอันดามัน ขนาด 9.1-9.3 แมกนิจูด เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 อันส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิซัดเข้าหลายจังหวัดของไทย คร่าชีวิตชาวบ้าน ประชาชน นักท่องเที่ยวในประเทศไทยไปกว่า 5 พันราย และทั่วโลกเกือบ 2 แสนราย

นอกจากนี้ หากย้อนไปดูข้อมูลในประวัติศาสตร์ ก็พบหลักฐานที่บันทึกถึงการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยเมื่อครั้งอดีตไว้เช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ก็อย่างเช่นในปี พ.ศ. 1008 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จนทำให้โยนกนครยุบจมลง เกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เป็นต้น

แผ่นดินไหวภาคเหนือ

บ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าวแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในภาคเหนือ เพราะเป็นบริเวณที่มีรอยเลื่อนที่ยังมีพลังอยู่หลายจุด นั่นจึงทำให้ในแต่ละปี มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในภาคเหนืออยู่หลายครั้ง ตั้งแต่ขนาดเล็กที่ไม่ทำให้คนรับรู้แรงสั่นสะเทือน ขนาดปานกลางที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้บ้าง ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้สิ่งปลูกสร้างได้อย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557

ทั้งนี้ จากสถิติพบว่า ในภาคเหนือนั้นเกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ตามมาด้วยเชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน พะเยา ตามลำดับ กระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวมสถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบกับภาคเหนือของไทย ตั้งแต่ปี 2550 มาให้ดูกัน

ข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่เคยเกิดขึ้นในภาคเหนือ มีดังนี้

       วันที่                ขนาด (แมกนิจูด)
จุดศูนย์กลาง

ความเสียหาย 

5 พ.ค. 2557 6.3  อ.พาน จ.เชียงราย  บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ในจังหวัดเชียงรายและใกล้เคียงเสียหาย รับรู้แรงสั่นสะเทือนถึงตึกสูงใน กทม.
7 มิ.ย. 2556  3.1  ต.ทุ่งปี้ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.แม่วาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
7 พ.ค. 2556  5.4  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหว ที่บ้านและบนอาคาร อ.แม่สาย อ.เมือง จ.เชียงราย
11 เม.ย. 2556  5.1  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.แม่ฮ่องสอน
5 เม.ย. 2556  2.9  ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.แม่วาง อ.หางดง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
2 มี.ค. 2556  3.4  ต.ทุ่งฝาย อ.เมือง จ.ลำปาง  ได้ยินเสียงดัง บ้านสั่น รู้สึกสั่นไหวที่ ต.ต้นฝาย ต.พิชัย ต.ต้นธงชัย จ.ลำปาง
7 ก.พ. 2556 4.3  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
20 ธ.ค. 2555  4.6  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหวที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และบนอาคารสูงจังหวัดเชียงใหม่
11 พ.ย. 2555  5.8  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ และบนตึกสูงของ จ.กรุงเทพมหานคร
11 พ.ย. 2555  6.6  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ จ.นนทบุรี จ.กรุงเทพมหานคร
13 ก.ย. 2555  3.4  ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นไหวที่ อ.พาน จ.เชียงราย กระจกและบ้านสั่น
10 พ.ค. 2554  4.0  ประเทศพม่า  รู้สึกที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
24 มี.ค. 2554  6.8  ประเทศพม่า  รู้สึกได้ในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และอาคารสูงใน กทม.หลายแห่ง และมีความเสียหายที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีผู้เสียชีวิต 1 คนจากผนังบ้านพังทับศีรษะ
6 ก.ค. 2553  4.5  ประเทศพม่า  รู้สึกได้ที่ อ.แม่สาย อ.แม่จัน อ. เชียงแสน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
5 เม.ย. 2553  3.5  อ.เวียงชัย จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.เมือง จ.เชียงราย
20 มี.ค. 2553  5.0  ประเทศพม่า  ห่างจากพรมแดนไทย(แม่สาย) ประมาณ 80 กิโลเมตร    รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
1 ก.ค. 2551  3.8  อ.พร้าว เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวได้ที่ จ.เชียงใหม่
22 เม.ย. 2551  3.9  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นไหวได้ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
2 พ.ย.2550  5.7 พรมแดนพม่า-ลาว-จีน  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
16 ต.ค. 2550  5.0  ตอนเหนือของลาว  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
 23 มิ.ย. 2550  5.5, 5.2  ประเทศพม่า  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย และอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร
19 มิ.ย. 2550  4.5  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน
16 พ.ค.2550  6.1  พรมแดนลาว – พม่า  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่หลายจังหวัดในภาคเหนือและอาคารสูงใน กทม.
15 พ.ค. 2550  5.1  พรมแดนลาว – พม่า  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
22 เม.ย. 2550  4.5  อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ จ. พะเยา
6 ม.ค. 2550  3.1  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เมือง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

แผ่นดินไหวภาคใต้

ในภาคใต้มีรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่มีพลังอยู่ 2 จุด คือรอยเลื่อนระนอง ซึ่งพาดผ่านจังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ พังงา และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งพาดผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศอินโดนีเซีย และทะเลอันดามันด้วย ทำให้แถบนี้เกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยเช่นกัน โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา บริเวณภาคใต้ของไทยเคยเกิดแผ่นดินไหว หรือได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวดังนี้

ข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่เคยเกิดขึ้นในภาคใต้ มีดังนี้

       วันที่

ขนาด
(แมกนิจูด)             
จุดศูนย์กลาง

ความเสียหาย 

2 ก.ค. 2556  6.0 ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา รู้สึกสั่นไหวบริเวณ จ.ภูเก็ต จ.พังงา และอาคารสูงในกรุงเทพฯ
23 มิ.ย. 2555  6.3  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา  รู้สึกบนอาคารสูง จ.ภูเก็ตและ สงขลา
4 มิ.ย. 2555 4.0  อ.เมือง จ.ระนอง  รู้สึกสั่นไหวที่ ต.เขานิเวศน์ ต.บางนอน อ.เมืองระนอง จ.ระนอง
16 เม.ย. 2555  4.3  ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รู้สึกไหวในหลายพื้นที่ใน จ. ภูเก็ต บ้านเรือนแตกร้าวหลายหลัง  เกิดอาฟเตอร์ช็อกมากกว่า 26 ครั้ง
11 เม.ย. 2555 8.6 ชายฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา รู้สึกได้ในหลายจังหวัดในภาคใต้และภาคกลาง รวมถึงภาคอีสาน เกิดคลื่นสึนามิสูง 80 ซม. ที่ประเทศอินโดนีเซีย และ 30 ซม. ที่เกาะเมียง จ.พังงา
5 มี.ค. 2555 5.2  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกไหวเล็กน้อยที่ จ.ภูเก็ต
20 ก.พ. 2555  2.7  อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา รู้สึกได้บริเวณใกล้ศูนย์กลาง และมีความเสียหายเล็กน้อย
6 ก.ย. 2554  6.7  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกที่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
24 มิ.ย. 2554  3.5  กิ่งอำเภอหาดสำราญ จ.ตรัง รู้สึกที่ อ.กันตัง อ.ย่านตาขาว อ.เมือง จ.ตรัง
30 เม.ย. 2554  4.4  ทะเลอันดามัน รู้สึกที่ จ.ภูเก็ต
9 พ.ค. 2553  7.3  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกสั่นไหวอาคารสูง จ. ภูเก็ต พังงา สุราษฏร์ธานี สงขลา และ กทม.
23 ธ.ค. 2551  4.1  อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี รู้สึกสั่นไหวในบริเวณ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
20 ก.พ. 2551  7.5  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกสั่นไหวบนตึกสูงใน กทม. และภูเก็ต เกิดสึนามิขนาดเล็กบริเวณใกล้ศูนย์กลาง
28 ธ.ค. 2550  5.7  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูง จ.ภูเก็ต จ.พังงา
27 เม.ย. 2550  6.1  ตอนเหนือเกาะสุมาตรา รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.ภูเก็ต

เหตุการณ์แผ่นดินไหวไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ถึงเวลาที่ต้องเรียนรู้เรื่องแผ่นดินไหวให้มากขึ้น เพื่อปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องหากต้องรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน

วีดีโอยูทูปเรื่อง 14รอยเลื่อนในไทย เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

วีดีโอยูทูปเรื่อง GMC2014-แผ่นดินไหวในประเทศไทย

วีดีโอยูทูปเรื่อง แผ่นดินไหว อ.พาน จ.เชียงราย ประเทศไทย

วีดีโอยูทูปเรื่อง แผ่นดินไหวในไทย

วีดีโอยูทูปเรื่อง วิเคราะห์สถานการณ์แผ่นดินไหวในไทย

วีดีโอยูทูปเรื่อง จับตารอยเลื่อนในไทย แผ่นดินไหว 12Nov12

————————————————————-
data sources:
htto://www.kapook.com